ระบบเบรครถยนต์ มีด้วยกันกี่ชนิด ข้อดีข้อเสียแตกต่างอย่างไร

0
2122

เบรค เป็นการทำให้รถลดความเร็วลงหรือทำให้รถหยุดการเคลื่อนที่  การทำงานของ ระบบเบรค คือ ขณะที่คุณเหยียบแป้นเบรค แรงเหยียบจะถูกส่งไปยังแม่ปั๊มน้ำมันเบรค ซึ่งจะทำหน้าที่อัดแรงดันน้ำมันเบรคให้ออกไปตามท่อน้ำมันเบรค ผ่านวาล์วแยก จนไปถึงตัวเบรคที่ติดตั้งบริเณดุมล้อ เมี่อรับแรงดันมาตัวเบรคซึ่งลูกปั๊มน้ำมันเบรคจะดันให้ผ้าเบรคไปเสียดทานกับชุดจานเบรคที่อยู่ใกล้กับจานดิสก์เบรคหรือดรัมเบรค เกิดความฝืดขึ้นทำให้ล้อหมุนช้าลง หากคุณเหยียบเบรคแรงขึ้นไปอีก แรงดันน้ำมันเบรคก็จะเพิ่มขึ้นตาม ความฝึดที่ล้อก็จะเพิ่มขึ้นเช่นกัน ทำให้รถชะลอจะรถหยุดในที่สุด

ระบบเบรคระบบเบรค มีด้วยกัน 2  ชนิดคือ ดรัมเบรค (Drum Brake) และดิสก์เบรค ทั้งสองชนิดมีรายละเอียดอย่างไร วันนี้เรามีความรู้มาแนะนำค่ะ

ดรัมเบรค (Drum Brake)

ประกอบด้วยตัวดรัมเป็นโลหะวงกลมติดกับดุมล้อ หมุนไปพร้อมล้อ และชุดฝักเบรคที่ประกอบไปด้วยผ้าเบรค กลไกปรับแต่งเบรค สปริงดึงกลับ ลูกสูบน้ำมันเบรค โดยสายน้ำมันเบรคจะเชื่อมต่อกับตัวลูกสูบในการดันผ้าเบรคให้ไปเสียดทานกับดรัมเพื่อให้เกิดความฝืด ดรัมเบรคเป็นเบรคมาตรฐานรถรุ่นเก่า ดรัมเบรคแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่

  • แบบก้ามปูนำ 2 ก้าม ระบบนี้ผ้าเบรคสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการจับประกบกับฝาครอบเบรค ทำให้ใช้แรงในการเหยียบเบรคน้อยลงอย่างมาก
  • ก้ามปูนำและก้ามปูตาม หรือบางคนเรียกว่า “ฝักนำกับฝักตาม” นิยมติดไว้ที่ล้อหลัง ซึ่งจะช่วยแก้ไขการเบรคให้รถไม่ถอยหลังไปตามลาดชัน และสามารถหยุดรถพอกัน

ข้อดีของดรัมเบรค คือ ความสามารถที่จะเพิ่มแรงจับประกบกับฝาครอบเบรคได้ด้วยตัวมันเองทำให้ใช้แรงกดน้อยลง แต่ก็มีข้อด้อยในเรื่องของความร้อนที่เกิดจากการเสียดสีระหว่างผ้าเบรคและฝาครอบ ทำให้ผ้าเบรคมีอุณหภูมิสูงขึ้น มีผลต่อแรงเสียดทานให้ลดลง

ดิสก์เบรค

ประกอบด้วย แผ่นจานดิสก์ คาลิปเปอร์หรือก้ามปูเบรค ผ้าเบรค ลูกปั๊มน้ำมันเบรค ระบบจะทำงานโดยดันผ้าเบรกให้สัมผัสกับจานเบรคเพื่อให้เกิดความฝืด ทำให้รถหยุด บางรุ่นใช้ดิสเบรกทั้ง 4 ล้อม รถยนต์บางรุ่นใช้เพียง 2 ล้อหน้า ดิสก์เบรคเป็นระบบเบรคที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาใหม่ ซึ่งด้วยกันอยู่ 3 แบบ ได้แก่

  • ดิสเบรกแบบก้ามปูยึดติดอยู่กับที่ จะมีผ้าเบรคอยู่ 2 แผ่นติดอยู่ในก้ามปูหรือคาลิปเปอร์ วางประกบกับจานเบรคเพื่อที่จะบีบจานเบรคตัว โดยตัวก้ามปูมีหน้าที่เพียงยึดลูกปั๊มเท่านั้น จะไม่เคลื่อนที่ขณะที่เบรคทำงาน
  • ดิสก์เบรคก้ามปูแกว่งได้ เบรกชนิดนี้จะมีลูกปั๊ม 1 ตัว เมื่อเหยียบเบรค ผ้าเบรคที่ติดอยู่กับลูกปั๊มจะเข้าไปประกบกับจานเบรค ในขณะที่น้ำมันเบรคก็จะดันตัวก้ามปูทั้งตัวให้เคลื่อนที่สวนทางกับลูกปั๊ม ผ้าเบรคแผ่นที่ติดกับตัวก้ามปูก็จะเข้ามาประกบกับจานเบรคอีกด้านหนึ่งพร้อมกับผ้าเบรกแผ่นแรก ซึ่งดิสก์เบรคก้ามปูแบบแกว่งนี้พบได้ในรถยนต์ส่วนใหญ๋
  • ดิสก์เบรคแบบเคลื่อนที่ไปมาได้ เป็นระบบดิสก์เบรคที่ใช้ลูกปั๊มสองตัว โดยตัวแรกจะเป็นทำหน้าที่ดันผ้าเบรคโดยตรง ส่วนอีกตัวจะดันก้ามปูที่มีผ้าเบรคติดอยู่ ให้ไปในทิศทางตรงกันข้ามกับลูกปั๊มตัวแรก

ดิสก์เบรคนั้นสามารถลดโอกาสที่เบรคจะเกิดอาการเฟด หรืออาการที่ผ้าเบรกมีประสิทธิภาพในการหยุดลดลง ทำให้การหยุดรถแน่นอน ยิ่งอาการเบรคไม่ค่อยหยุดเมื่อขับลุยน้ำก็จะหมดไปเพราะดิสก์เบรคสามารถหมุนสลัดน้ำออกจากระบบได้ดีกว่า แต่ดิสก์เบรคเองก็ยังมีข้อเสียตรงที่ว่ามักพบปัญหาช่วงรถแล่นถอยหลังที่ยังหยุดไม่ค่อยดี อาจจะต้องใส่ดรัมเบรคเพิ่มที่รถหลัง

ข้อมูลเพิ่มเติม: เพิ่มความปลอดภัยด้วย กันโคลงหลัง AC POWER ติดกับรถอะไรได้บ้าง : acpowerthailand.com